Ads 468x60px

จำนวนผู้เข้าชม

Featured Posts

วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ขำกลิ้งลิงกับหมา


ประวัติชนเผ่าอาข่า

ประวัติความเป็นมาและสภาพทั่วไป
อาข่า เป็นแขนงหนึ่งของชนเผ่าธิเบต-พม่า รูปร่างเล็กแต่ล่ำสันแข็งแรง ผิวสีน้ำตาลอ่อนและกร้าน ผู้หญิงมีศีรษะกลม ลำตัวยาวกว่าน่อง และขา แขน และขาสั้นผิดกับผู้ชาย มีภาษาพูดมาจากแขนงชาวโล-โล คล้ายกับภู ภาษาลาหู่ (มูเซอ) และลีซู (ลีซอ) ไม่มีตัวอักษรใช้ วัฒนธรรมของคนอาข่าทำให้พวกเขามองชีวิตของคนในเผ่าเป็นการต่อเนื่องกัน เด็กเกิดมาเป็นประกันว่าเผ่าจะไม่สูญพันธุ์ พอโตขึ้นกลายเป็นผู้สร้างเผ่า และเป็นผู้รักษา “วีถีชีวิตอาข่า” ในที่สุดก็ตาย และกลายเป็นวิญญาณบรรพบุรุษคอยปกป้องลูกหลานต่อไป กฎต่าง ๆ เหล่านี้ครอบคลุมทุกคนในเผ่า ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน ตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นแนวทางสอน และแนะนำทุกคนในเรื่องของกฎหมายของเผ่า ประเพณี ศาสนา ยา และการรักษาโรค กสิกรรม สถาปัตยกรรม การตีเหล็ก และการทำของเครื่องใช้เครื่องนุ่งห่ม เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำเพาะ พวกเขาไม่มีตัวหนังสือใช้แม้จะไม่ได้มีการบันทึกประวัติศาสตร์เป็นลาย ลักษณ์อักษร อาข่าก็มีตำนาน สุภาษิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี พิธีการมากมาย ที่ทำให้หมายรู้ในเผ่าพันธุ์ และซาบซึ้งในความเป็นอาข่าของตน เขาสามารถสืบสาวรายงานบรรพบุรุษฝ่ายบิดาขึ้นไปได้ถึงตัว “ต้นตระกูล” และรู้สึกว่าท่านเหล่านั้น ก่อกำเนิดชีวิตเขามา และประทานวิชาความร้ ในการเลี้ยงชีวิตมาโดยตลอด เพราะเหตุที่มองตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของโซ่สร้อยซึ่งร้อยมายาวนักหนา
อาข่า จะอดทนผจญความยากเข็ญทั้งหลาย ดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไป เพื่อว่าลูกหลานจะได้รำลึกบูชาเขา เช่น บรรพชนคนหนึ่งในวันข้างหน้า ตามตำนานของอาข่า ธรณี (อึ่มมา) และท้องฟ้า (อึ่มก๊ะ) นั้นเสกสรรค์ขึ้นมา โดยมหาอำนาจ อะโพว่หมิแย้ (บางครั้งแปลออกมาว่า “พระผู้เป็นเจ้า”) จากอึ่มก๊ะ สืบทอดเผ่าพันธุ์กันลงมา อีก 9 ชั่วเทพ คือกาเน เนซ้อ ซ้อสือ สือโถ โถม่า ม่ายอ ยอเน้ เน้เบ่ และเบ่ซุง พยางค์หลังชื่อบิดาจะกลายเป็นพยางค์หน้าของชื่อบุตร ดังนี้เรื่อยลงมาตามแบบแผนการตั้งชื่อของอาข่า ซึ่งยังทำกันอยู่จนทุกวันนี้ ตำนานนี้ ระบุว่า มนุษย์คนแรกเป็นบุตรของเบ่ซุง ชื่อ ซุ้มมิโอ ซึ่งเป็นบิดาของมนุษยชาติ สืบสายกันลงมาอีก 13 ชั่วโคตร จึงถึงโซตาป่า ซึ่งเป็นมหาบิดรของอาข่าทั้งปวง เวลาที่คนอาข่าล่ารายชื่อการสืบสายของตน จะมีชื่อต้นตระกูลของเขารวมอยู่ด้วยเสมอ การร่ายรายชื่อบรรพบุรุษจนครบองค์ ซึ่งมีอยู่กว่า 60 ชื่อนี้ มิได้ทำการพร่ำเพรื่อ จะทำก็ในพิธีใหญ่ เช่น งานศพ หรือในยามเกิดกลียุค ถึงต้องภาวนาขอความช่วยเหลือจากบรรพบุรุษเท่านั้น ตามธรรมดาอาข่าจะไม่ร่ายครบองค์ จะไล่ชั้นไปเท่าที่จำเป็น เช่น เมื่ออาข่าแซ่เดียวกันสององค์ อยากจะรู้ว่า เป็นญาติใกล้ชิดหรือห่างแค่ไหน และที่สำคัญเมื่อหนุ่มสาวจะแต่งงานหรืออยู่กินกันนั้น พ่อแม่ทั้งสองฝ่าย จะต้องไล่ชื่อบรรพบุรุษขึ้นไปให้แน่ใจว่า มิได้ร่วมบรรพบุรุษอย่างน้อย 7 ชั่วโคตร
นอกจากจะทราบชัดเรื่องการสืบสายโลหิตของตน อาข่ายังทราบชัดว่าบรรพบุรุษ อพยพสืบทอดกันมา ตามเส้นทางจีน พม่า และไทย แม้ว่าภาพจะยิ่ง ลางเลือน ไร้รายละเอียด เมื่อไล่ขึ้นไป ไกลขึ้นๆ เราก็ได้คำให้การที่ตรงกันจากอาข่าที่พบในพม่า ไทย และลาว ซึ่งนับว่าเป็น ชนชาติที่มีประวัติศาสตร์ แจ่มชัดอย่างน่าอัศจรรย์ใจ ทั้งๆ ที่ไร้อักขระวิธี และกระจัดกระจาย ผลัดพรากกันไปไกลแสนไกล
การโยกย้ายและตั้งถิ่นฐาน
อาข่า เป็นสำเนียงเสียงพูดที่เรียกตนเองที่ถูกที่สุด โดยใช้สำเนียงเสียงนี้จากเขต 12 ปันนาในมณฑลยูนานของประเทศจีน ลงมาในประเทศพม่า ลาว และประเทศไทย แต่มีคำนิยมเรียกชื่ออาข่า เป็น “อาข่า” ในประเทศไทย ซึ่งก็ไม่ผิดจากการศึกษาพบว่าชนเผ่าอาข่าเป็นกลุ่มชน ที่อาศัยอยู่ในเขตทวีปเอเชีย โดยอาศัยอยู่ใกล้เขตธิเบต และเขตตอนใต้ของประเทศจีน อาข่าส่วนหนึ่งต้องอพยพเข้าเข้าสู่ประเทศพม่า เพื่อแสวงหาที่ทำกิน และเมื่อประเทศจีนได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยเฉพาะการปฏิวัติวัฒนธรรม ทำให้อาข่าส่วนใหญ่ได้อพยพออกจากประเทศจีนเข้าสู่ ประเทศพม่าทางแคว้นเชียงตุง ประเทศลาว แขวงหลวงน้ำทา และทิศเหนือของประเทศเวียดนามเพิ่มมากขึ้น เพื่อหนีภัยจากปัญหาต่างๆ อาทิเช่น ปัญหาความไม่สงบทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ปัญหาการขาดแคลนที่ทำกิน และปัญหาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เพื่อแสวงหาความสงบ
การอพยพโยกย้ายของชาวอาข่าเข้าสู่ประเทศไทย
การอพยพของชาวอาข่าเข้าสู่ประเทศไทย อาข่าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยซึ่งมีบรรพบุรุษพื้นเพเดิม อาศัยอยู่ ทางตอนใต้ของประเทศจีน และเมื่อประมาณ 110 กว่าปี อาข่าได้อพยพโยกย้ายเข้าสู่ประเทศไทย โดยมี เส้นทาง 2 เส้นทางคือ เส้นทางแรก อพยพจากประเทศพม่าแคว้นเชียงตุง เข้าสู่ประเทศไทยเนื่องจากเกิดปัญหาทางการเมือง ด้านฝั่งเขตอำเภอแม่จัน ทางหมู่บ้านพญาไพร (ปัจจุบันเป็นอำเภอแม่ฟ้าหลวง) โดยการนำของแสนอุ่นเรือน ชื่อภาษาอ่าข่าว่า "หู่ลอง จูเปาะ"และ เข้ามาอาศัยอยู่ในเขตบนดอยตุงจนกระทั่ง เสียชีวิต ส่วนแสนพรหม ชื่อภาษาอ่าข่าว่า "หู่ปอ เจ่วปอ" ซึ่งเป็นน้องของแสนอุ่นเรือน ได้อพยพมาตั้งหมู่บ้าน อาข่าทางฝั่งอำเภอแม่สาย เขตบริเวณบ้านผาหม ีและหมู่บ้านอาข่าเขตอำเภอเชียงแสน หรือบ้านดอยสะโง้ ส่วนแสนใจ มีภาษาอาข่าเรียกว่า "ถู่แช เจ่วปอ" เป็นหลานของแสนอุ่นเรือน อีกคนหนึ่งได้มาตั้งหมู่บ้านแสนใจ ในเขตอำเภอแแม่จัน (ปัจจุบันเป็นอำเภอแม่ฟ้าหลวง)
เส้นทางที่สอง อาข่า ได้อพยพโดยตรงจากประเทศจีนโดยเดินทางผ่านบริเวณตะเข็บชายแดนพม่า และแม่น้ำโขงประเทศลาว และเข้าสู่ประเทศไทยโดยตรงที่อำเภอแม่สาย ปัจจุบันชุมชนอาข่าได้กระจัดกระจาย ตั้งชุมชนอยู่ในพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย คือ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ ตาก น่าน และ เพชรบูรณ์ สายตระกูลอาข่าที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย (ตามที่กล่าวมา) มีทั้งหมด 5 พี่น้อง

หมายเหตุ

คนที่ 1 ชื่อว่า "หู่ลอง” ชื่อภาษาไทยว่า "แสนอุ่นเรือน" มีบุตรชาย 3 คน ชื่อ ลองก่า / ลองเท / ลองโจ๊ะ ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตอำเภอแม่สรวย
คนที่ 2 ชื่อว่า "หู้ซ้อง" ชื่อภาษาไทยว่า "แสนพหรมม" มีบุตรชาย 3 คน ชื่อ ซ้องโซ๊ะ / ซ้องยอ / ซ้องก๊ะ ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตอำเภอแม่สรวย
คนที่ 3 ชื่อว่า "หู่โบะ" ชื่อภาษาไทยไม่ปรากฏ มีบุตรชาย 2 คน ชื่อ ก่าสโซ๊ะ / ก่ายา ซึ่งไม่ปากฏว่าอาศัยอยู่ในเขตใดของประเทศไทย
คนที่ 4 ชื่อว่า "หูทู" ชื่อภาษาไทยไม่ปรากฏ มีบุตรชาย 1 คนคือ "ถู่เจ"
คนที่ 5 ชื่อว่า "หู่เจ" ชื่อภาษาไทยไม่ปรากฏ มีบุตรชาย 2 คน คือ เจหื่อ / เจถู่ โดยเจถู่ มีบุตร 3 คน คือถู่แช หรือนายแสนใจ / ถู่ก่อ หรือ นายหล้า และถู่เมียะ

จำนวนประชากรอาข่า

ประชากรชาวอาข่าที่อาศัยอยู่ในเขตทวีปเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีน พม่า ลาว เวียดนาม และประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน (โดยรวมกลุ่มชน "ฮานี" ในประเทศจีนด้วย) สำหรับประเทศไทยมีประชากรอาข่าอาศัยอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ ตาก เพชรบูรณ์ และน่าน มีประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 65,000 คน โดยมีจังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดที่มีชาวอาข่าหนาแน่นที่สุด

เพลงอาข่า


เรื่องแมวๆ


วัดจองคำ งาว 
บลบ้านหวด บนถนนสายลำปาง-งาว ห่างจากตัวอำเภองาว 10 กิโลเมตร วัดจองคำเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง สถาปัตยกรรมก่อสร้างโดดเด่นเป็นสง่า เป็นศิลปะแบบไทยใหญ่ ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด ตัววิหารชัยภูมิศิลปะแบบไทย ใหญ่หลังเดิมถูกรื้อย้ายมาไปไว้ ณ เมืองโบราณจังหวัดสมุทรปราการหลังที่เห็นปัจจุบันเป็น ศิลปะที่สร้างขึ้นมาใหม่ใน เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีได้มีการยกวัดราษฎร์ขึ้น เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ วัดจองคำได้รับคัดเลือกให้เป็นพระอารามหลวงแห่งใหม่ในจังหวัดลำปาง และเป็นโรงเรียน สอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดลำปาง แต่ละปีนักเรียนปริยัติธรรมสามารถสอบเปรียญธรรมบาลีได้หลายประโยคจนถึง ป.ธ.9 ได้รับพระราชทานอุปสมบทเป็นนาคหลวงจำนวนมาก เจ้าอาวาสและเจ้าสำนักได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นราช ในราชทินนามว่าพระราชปริยัติโยดม
วัดจองคำ งาว วัดจองคำ งาว
วัดจองคำ งาว วัดจองคำ งาว
วัดจองคำ งาว วัดจองคำ งาว
สะพานโยง
สะพานโยงหรือสะพานลอยเป็นสะพานข้ามแม่น้ำงาว เป็นสะพานแขวนแห่งแรกของประเทศไทย ปัจจุบันได้เลิกใช้แล้วเนื่องจากมี การตัดถนนเข้าสู่เมือง ไม่ให้รถวิ่งแล้วตัวสะพานโยงเป็นไม้กับเหล็ก สะพานโยงตั้งอยู่ใจกลางเมือง เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญ ของเมืองงาวที่ชาวเมืองงาวภาคภูมิใจ
สะพายโยง งาว สะพายโยง งาว
สะพายโยง งาว สะพายโยง งาว
อำเภองาว  ตั้งอยู่ในจังหวัดลำปาง  เป็นอำเภอเล็กบรรยากาศสงบ เมืองงาวเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีมาแต่โบราณมีอายุกว่า 700 ปี  มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาตร์  วัฒนธรรม มีธรรมชาติอันบริสุทธิ์ และวิถีชีวิตชนเป่าที่งดงาม อำเภองาว เดิมมีชื่อว่า เมืองเงินเป็นหัวเมืองหลักเมืองหนึ่งของอาณาจักรล้านนามีประวัติศาสตร์อันยาวนานและเป็นเมืองหน้าด่าน ที่สำคัญของเมือง เขลางค์นคร(ลำปาง) เมืองเงินในอดีตมีเจ้าผู้ครองนครที่เข้มแข็งชำนาญการสงคราม มีความเชี่ยวชาญในการรบ โดยใช้ของ้าว เป็นอาวุธสำคัญ เมื่อข้าศึกจากหัวเมืองลื้อหัวเมืองเขินเข้ามารุกรานก็ไม่อาจรุกล้ำเข้าไปถึงเมืองเขลางค์นครได้ เพราะเมื่อมาถึง เมืองเงินก็ถูกตีแตกพ่ายไปทุกครั้ง เจ้าเมืองเงินได้อาสาปราบปรามข้าศึก พวกฮ่อ เงี้ยว ที่มารุกรานถึงหัวเมืองเงี้ยว หัวเมืองลื้อ หัวเมืองเขิน จนถึงแคว้นสิบสองปันนาได้รับชัยชนะจนเป็นที่ร่ำลือ เจ้าเมืองเขลางค์นครได้ประทานง้าวด้ามเงิน เป็นบำเหน็จคุณงามดี และความกล้าหาญ เป็นที่ยินดีแก่ชาวเมือง จึงเรียกเจ้าเมืองว่าพระยาง้าวเงินและเรียกชื่อเมืองว่าเมืองง้าวเงิน กาลเวลาผ่านมา ได้เรียกเพี้ยนเป็น เมืองงาว
งาว ลำปาง
 

Sample text

Sample Text

Sample Text